วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไม้ยมหอม

ชื่อพื้นเมือง ยมฝักดาบ (ภาคเหนือ) เล้ย (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) สะเดาดง (กาญจนบุรี) สีเสียดหอม (พิษณุโลก) สีเสียดอ้ม (ไทย)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toona Ciliata M.Roem [Cedrela toona Roxb.]
ชื่อการค้า Mouimein Cear, Cigar-Box, Toona, Indian Mahogany

ลักษณะทั่วไป

เป็น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20 เมตรขึ้นไป โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง สูงชะลูด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกหนา สีเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึก ตามความยาวของ ลำต้นมีรูระบายอากาศทั่วไป ไม่มีกิ่งก้านรอบลำต้น นอกจากบริเวณเรือนยอด ใบ เป็นใบประกอบช่อยาว ใบย่อยรูปมนแกมรูปไข่ หรือรูปดาบออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ยอดใบเรียวแหลม

ดอก มีขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อยาว ๆ ตามง่ามใบ ตอนปลาย ๆ กิ่ง

ผล มีขนาดเล็ก กลมรี ๆ อุ้มน้ำ ผลแก่สีเหลือง เมื่อแก่จัดจะแตกและติดเมล็ด ที่มีปีกให้หลุดปลิวไปตามลมได้ไกล ๆ

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
มี การกระจายพันธุ์อยู่ในป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป โดยเฉพาะ ตอนเหนือของประเทศไทย มักจะพบแถบริมแม่น้ำ ลำธาร หุบเขาที่มีความชื้นสูง

การเก็บเมล็ด
ควร เก็บระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน (ทั่วไป) ในบางพื้นที่ผลจะแก่เร็วกว่านี้ เช่น ที่ลุ่มน้ำแม่ตะละ จ.เชียงใหม่ จะเก็บผลได้ในเดือนมกราคม-มีนาคม ควรเก็บผลตอนมีสีเขียวอมน้ำตาล ก่อนที่เมล็ดจะหลุดปลิวไปก่อน ตัดช่อผลนำมาผึ่งแห้งใต้ร่ม เมื่อนำเมล็ดมาเพาะจะงอกได้ในเวลา 7-10 วัน ในขณะที่เมล็ดที่ได้จากการตากกลางแดดจะงอกได้ในเวลา 30-45 วัน เมล็ด 1 กก. จะมีจำนวนประมาณ 350,000 เมล็ด ควรเพาะเมล็ดทันทีหลังจากเก็บได้ จะมีอัตราการงอกเฉลี่ยประมาณ 85% ถ้าเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส จะเก็บไว้ได้นานประมาณ 6 เดือน เมล็ดที่เก็บไว้ในสภาพนี้อายุ 1 ปี จะงอกได้เพียงประมาณ 20% เท่านั้น
การเพาะ

ควร ใช้เมล็ดที่เก็บมาได้ใหม่ ๆ เพาะในกะบะทราย กลบเมล็ดด้วยทราย อีกครั้งหนึ่ง บาง ๆ ป้องกันเมล็ดหลุดลอย ไประหว่างการให้น้ำ ควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น แต่อย่าให้แฉะเพราะจะเกิดโรคเน่าคอดินได้ง่าย กล้าไม้อายุ 1 เดือน จะสูงประมาณ 3-5 ซม. พร้อมที่จะย้ายปลูกภาคสนามได้

ในระยะกล้าไม้อาจเกิดโรคเน่าคอดิน [Damping-off] ได้ง่าย หากให้น้ำมาก เกินไป นอกจากนั้นจะพบโรคราสนิม [Rust] เกาะกินและทำลายใบกล้า ไม้ยมหอมเสมอ ๆ กล้าไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป สามารถผลิตเหง้า [Stump] สำหรับย้ายปลูกได้

การปลูก
ไม่ ควรปลูกเป็นสวนป่าผืนใหญ่ เพราะแมลงที่เจาะยอด คือ พวก Hypsipyla spp. จะระบาดได้รวดเร็วในแปลงปลูกยมหอม โดยเจาะยอดอ่อน ให้ยอดอ่อน แห้งตายและแตกหน่อใหม่ออกมาเป็นพุ่ม ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกแตกกิ่งก้าน สาขามาก รูปทรงไม่ดี

ใน รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ได้ทำการศึกษาทดลองหามาตรการป้องกัน หนอนเจาะทำลายยอดต้นมะฮอกกานี [Swietenia macrophylla] โดยการปลูกไม้อื่นผสมและการปลูกไม้ในตระกูล Mellaceae เป็นเหยื่อล่อแมลง เรียกว่า Balt species พบว่าแมลง Hypsipyla จะเจาะยอดต้นยมหอมมากที่สุด จึงทำการปลูก ยมหอมเป็นแถบรอบ ๆ แปลงปลูกมะฮอกกานี ให้แมลงพวกนี้ หันเหความสนใจไปทำลายยมหอมแต่เพียงอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่า ยมหอมเป็นพันธุ์ไม้ที่แมลงเจาะยอด Hypsipyla เจาะทำลายมากที่สุด

ด้วย เหตุผลดังกล่าว จึงไม่ควรสนับสนุนให้ปลูกต้นยมหอม เป็นสวนป่า แปลงใหญ่มาก เกษตรกรสนใจควรแนะนำให้ปลูกผสมร่วมกับไม้อื่น ๆ เช่น สะเดาเทียม [Azadirachta excelsa] ในภาคใต้หรือสะเดา [Azadirachta siamensis] ในภาคอื่น ๆ หรือปลูกยมหอมแทรก ในพืชสวนอื่น ๆ ก็ได้ แต่ไม่ขอแนะนำให้ปลูกเป็นสวนป่าชนิดเดียว

ใน สภาพที่ไม่ถูกแมลงเจาะยอดทำลาย ต้นยมหอมที่ปลูกแทรกระหว่างไม้อื่น ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่อำนวยให้จะเจริญเติบโตเร็วพอ ๆ กับไม้สัก คือ ในระยะ 10 ปี อาจมี เส้นผ่าศูนย์กลางระดับอกได้ถึง 15-20 ซม.

ใน พื้นที่ซึ่งมีความชื้นสูง หรือฝนตกชุกเกินกว่า 1,800 มม./ปี ต้นยมหอมอายุ 10 ปี อาจโตถึง 30 ซม.ได้ ดินที่ต้นยมหอมขึ้นได้ดี คือ ดินร่วนปนทราย ดินลึก มีอินทรีย์วัตถุสูง pH ประมาณ 55-70 ต้นยอมหอมขึ้นได้ ทั้งในพื้นที่ราบ และที่สูงในระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร
ประโยชน์

ไม้ ใช้ทำกระดานฝา เพดาน หีบบุหรี่ โครงอานม้า เครื่องแกะสลัก ฝักดาบ ทำไม้อัดได้ดี เครื่องดนตรี ตุ๊กตา กระเบื้องไม้ แจว พาย กรรเชียง ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำเรือยนต์แข่ง ทำเครื่องเล่น ด้ามแล็กเก็ต กลอง เครื่องดนตรีที่ใช้สาย ทำหีบใส่ของที่ดี หีบศพ หีบชา หีบดินปืน พานท้ายและรางปืน ลักษณะคล้ายไม้สุเหรียนทางภาคใต้ใช้แทนกันได้

เปลือก มียางไม้ที่เรียกว่า น้ำฝาด ใช้เป็นยาสมุนไพรสมานแผล และห้ามเลือด แก้ไข้และใส่แผล นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคเชื้อราบางชนิดอีกด้วย

ดอก ใช้เป็นยาขับระดู

ลักษณเนื้อไม้
สีแดงอ่อนถึงสีอิฐแก่ เป็นมันเลื่อม มีกลิ่นหอม เสี้ยนตรง และสม่ำเสมอ เหนียว อ่อน ใช้ในร่มทน เลื่อยไสกบตกแต่งง่าย ขัดชักเงาได้งาม

* ความถ่วงจำเพาะ ประมาณ 0.53
* กลสมบัติ เนื้อไม้มีความแข็ง ประมาณ 398 กก.
* ความแข็งแรง ประมาณ 869 กก./ตร.ซม.
* ความดื้อ ประมาณ 83,800 กก./ตร.ซม.
* ความเหนียว ประมาณ 1.89 กก./ตร.ซม.

การ ผึ่งและอบไม้ ผึ่งให้แห้งด้วยกระแสอากาศได้ค่อนข้างยาก มักมีการแตกร้าวที่ปลายไม้ การผึ่งไม้ขนาด 2x2.5 นิ้ว ให้แห้ง อาจใช้เวลานานถึง 1 ปี การอบให้แห้งได้ยากปานกลาง เมื่ออบแห้งแล้วสีจะเข้มขึ้น ความทนทานทางธรรมชาติ ตั้งแต่ 4-11 ปี เฉลี่ยโดยประมาณ 6.1 ปี

ติดต่อสวนสมสุข จ.เชียงราย

มือถือ: 08-1531-7043, 08-7575-9863

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น