วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ดีปลี


ดีปลีเป็น เป็นพืชเดียวกันกับชะพลูและพลู กลิ่นหอมแนเป็นสิ่งคู่กันกับพืชในวงศ์นี้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหยซ่อนอยู่ในใช ลำต้น และผลดีปลีนั้นจะว่าไปก็เหมือนพืชผักที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักได้ยินแต่ชื่อว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง แต่ต้น ผล ใบนั้นจะมีรูปร่างอย่างไรก็ไม่รู้

อย่าว่าแต่ต้นเลย ดีปลีที่เป็นเครื่องเทศแล้วก็คงมีไม่มากคนที่รู้จัก นอกจากคนที่ต้องใช้บ่อย ๆ

ตามพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูง มักจะมีพืชในวงศ์ PIPERACEAE หรือวงศ์พริกไทย ขึ้นได้ดีมีมากมาย พืชในวงศ์นี้ก็ได้แก่พริกไทย ชะพลูและพลู ดีปลีของเราก็เป็นหนึ่งในสมาชิกวงศ์พืชดังกล่าวนี้ด้วย ดีปลีนั้นเติบโตได้ดีในทุกภาค ขอเพียงให้ชุ่มชื้น มีแดดเพียงร่มรำไร ดีปลีก็แตกดอกออกผลให้คนมาเก็บไปกิน และเก็บไปตากแห้งทำยา ทำเครื่องเทศปรุงรสปรุงกลิ่นอาหารให้น่ารับประทาน

ทางปักษ์ใต้เจ้าของอาหารรสจัดจ้านร้อนแรงก็ย่อมมีดีปลีเป็นส่วนประกอบ แต่ที่เด็ดขาดกว่าใครก็คือกินลูกอ่อนของดีปลีเป็นผักสด เข้าใจว่าเมื่อเป็นลูกอ่อนนั้นน่าจะรับประทานง่ายไม่ฉุนเท่าเมื่อเป็นเครื่องเทศ

เครื่องเทศที่ว่านั้นได้มาจากผลสุก นำมาตากแห้งใช้ประกอบกับแกงคั่ว แกงเผ็ด เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหาร บางที่ก็นำมาแต่งกลิ่นผักดอง
ลักษณะทั่วไปของดีปลี
ถาดีปลีนั้นมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบเป็นมัน

ดอก ออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็ก กลม ฝังตัวกับช่อดอก

ผลอ่อนสีเขียว รสเผ็ด เมื่อสุกเป็นสีแดง
ดีปลีชอบความชื้นสูง หากฝนตกชุกก็เป็นที่ถูกใจ เพียงกิ่งแก่ ๆ มาปักชำรดน้ำฉ่ำ ชุ่ม พอรากงอกและต้นตั้งตัวได้ก็นำลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ สำหรับหลักให้เลื้อยพันนั้นมักนิยมใช้เสาไม้ที่แข็งแรงหรือใช้เสาซีเมนต์ หรืออาจปล่อยให้ไต่ไปบนรั้ว กำแพงหรือต้นไม้อื่น ๆ ดีปลีนิสัยดี ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้อื่น แต่ขออาศัยยึดเกาเฉย ๆ ใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นเจ้าของเถาดีปลีได้ หรือจะปลูกเป็นไม้ประดับชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื้น หรือดูผลที่เป็นสีเหลืองเมื่อจวนสุก แดงเมื่อสุกแล้ว พราวไปทั้งเถาที่เป็นที่นิยม


ประโยชน์ของดีปลี
ในผลสุกของดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันของดีปลีตามการวิจัยของสถาบันการแพทย์แผนไทยบอกว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่ว ถ้าหากนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรจากธรรมชาติก็ไม่เลว

คุณประโยชน์ด้านสมุนไพรของดีปลีนั้นมากมายมหาศาล เริ่มตั้งแต่ลำต้นหรือเถา รสเผ็ดร้อน แก้ปวดฟัน จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกนั้นรสเผ็ดร้อนขม แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบ แก้ลม วิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ แก้ตับพิการ รากรสเผ็ดร้อนขม แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต

ดอกแก่ต้มน้ำดื่มแก้ ท้องอืดท้องเฟ้อและช่วยให้หายวิงเวียน ส่วนหากจะแก้ไข ให้ใช้ดอกแก่แห้งครึ่งกำมือฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ

คุณประโยชน์หลายสถานนี่เอง ดีปลีจึงมีชื่ดีตั้งแต่ชื่อจนถึงต้นเถา
===========================================

สมุนไพร ที่ใช้ๆ กันอยู่นั้น โดยมากมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อ ชื่อบางชื่อจะมีนัยบ่งบอกถึงลักษณะของสมุนไพรชนิดนั้นๆ บางชื่อก็จะมีนัยถึงสรรพคุณของมัน

อย่างเช่นดีปลี ในทางอายุรเวทเรียกว่าปีปปะลี (Pippali)ซึ่งมีความหมายว่า สิ่งที่ช่วยปกป้องและเพิ่มเติม อันมีนัยถึงคุณค่าในทางยาที่ช่วยปกป้องจากความเจ็บป่วย และเติมสุขภาพที่ดีให้ร่างกาย นอกจากนี้ดีปลียังมีชื่อเรียก อื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น กฤษณะ (Krshna) ซึ่งแปลว่า ดำ บ่งบอกถึงดอกสีดำของดีปลีหรือจะแปลว่าชะล้างออก ก็ได้ บอกถึงสรรพคุณในการชะล้างความเจ็บป่วยจากร่างกายเรา ดีปลี ถือเป็นสมุนไพรตัวสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในทาง อายุรเวทมาแต่โบร่ำโบราณ

ในคัมภรีร์ อายุรเวท ที่อธิบายเกี่ยวกับยาสมุนไพร บรรยายเกี่ยวกับดีปลี ว่ามีรสเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติเบา (หมายถึง ย่อยง่าย) ชุ่มชื้น มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ไข้ อีกทั้งยังเป็นยาอายุวัฒนะ และบำรุงร่างกาย ที่ดีอีกด้วย

ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบหายใจได้ดี จึงถูกจัดเป็นตัวยาสำคัญตัวหนึ่ง ในตำรับยาหลายขนานที่ใช้แก้ปัญหาเรื่องกระเพาะลำไส้ เช่น อาหารไม่ย่อย มีลมในกระเพาะมาก ท้องอืดเฟ้อ รวมทั้งเป็นตัวยาสำคัญในตำรับยาแก้โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น แก้หวัด หอบหืด หลอดลมอักเสบ ไม่นับโรคเรื้อรังอย่างเช่น ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ ไข้รูมาตอยด์ เป็นต้น

ในเมืองไทยนั้น คนส่วนใหญ่จะรู้จักดีปลีว่า เป็นตัวยาตัวหนึ่งในตำรับยาที่เปรียบเสมือนสามทหารเสือ ที่เรียกว่า ตรีกฏุ ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรสามชนิด คือ พริกไทย ดีปลี และขิงแห้ง อาจเป็นไปได้ที่ไทยเราได้ ตำรับยาตรีกฏุนี้มาจากอายุรเวทของอินเดียเช่นกัน เพราะยาตรีกุฏนั้นถือเป็นยาตำรับคลาสสิคของอายุรเวทเลยก็ว่า ได้ คำว่าตรีกุฏในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า สิ่งที่มีรสเผ็ดร้อนสามชนิด ซึ่งก็คือ ตัวยาสามตัวในตำรับที่ว่านั่น เอง

ยา ตำรับนี้มีสรรพคุณช่วยบำรุงไฟธาตุ หรือช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยย่อยสลาย สารอาหารตกค้าง ที่ร่างกายย่อยสลาย และดูดซึมไม่ได้ แล้วไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะกลายเป็นบ่อเกิดของความเจ็บป่วยได้ หากสารอาหารตกค้างที่ว่านี้ สะสมในร่างกายมากๆ ยาตรีกฏุมีสรรพคุณช่วยย่อยสารอาหารตกค้างที่ว่านี้ได้ แถมยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารรวมทั้งยาที่เรากินเข้าไปได้ดีขึ้น

นอกจากดอกดีปลีที่ เรารู้จักดีแล้ว ในอินเดียยังแนะนำให้ใช้รากดีปลีด้วยเช่นกัน และมีข้อแนะนำว่าควรใช้ดอกดีปลีแห้งที่เก็บไว้ประมาณหกเดือนถึงหนึ่งปี หากนานกว่านั้นสรรพคุณจะเสื่อมลง

เราสามารถใช้ ประโยชน์จากดีปลี ในการปรุงยาเข้ายาอีกหลายขนานที่จะช่วยดูแล บำบัดปัดเป่าโรคและอาการเจ็บป่วยให้พอทุเลาลงได้ดังต่อไปนี้

1. ใช้ดอกดีปลีล้าง ให้สะอาด บดหรือตำพอหยาบๆ ครึ่งแก้ว ว ต้มกับน้ำสี่แก้ว ต้มให้เหลือน้ำหนึ่งแก้ว จากนั้นกรองเอาแต่น้ำยา กินวันละ 2 ครั้ง ขณะท้องว่าง ช่วยแก้ไข้เรื้อรังหรือไข้ที่เป็นๆ หายๆ และยังช่วยลดอาการม้ามโตด้วย
2. ใช้ดอกดีปลี 20 กรัม ต้มรวมกับนม 200 ซีซี และน้ำ 800 ซีซี ต้มให้เหลือ 200 ซีซี จากนั้นกรองเอากากทิ้ง เมื่อยาเย็นแล้วให้กินร่วมกับน้ำผึ้ง จะช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับหัวใจ แก้ไอ และไข้ขึ้นๆ ลงๆ ได้
3. ผู้ที่มีปัญหา เรื่องริดสีดวงทวาร โดยมีอาการคันร่วมด้วย ขอแนะนำให้กินเมล็ดงาดำ(ดิบ) 20 กรัมผสมรวมกับดอกดีปลี 10 ดอก บดให้ละเอียดกินร่วมกับนมหนึ่งแก้ว วันละ 1 ครั้ง กินนานประมาณ 15 วัน
4. คนที่มีปัญหาเรื่องท้องอืด ไอ กระเพาะลำไส้อักเสบ หากกินผงดีปลีผสมน้ำผึ้งบ่อยๆ จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
5. ผงดีปลีและผงสมอไทยอย่างละ 5 กรัม ผสมให้เข้ากันดี กินกับน้ำอุ่น 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง ช่วยลดอาการ เสียงแห้งได้
6. ผงดีปลี 1 ส่วน ลูกเกด(สีดำ) บดให้ละเอียด 2 ส่วน น้ำตาลทรายแดง 3 ส่วน เคี่ยวรวมกันและคนให้เข้ากันดี เคี่ยวจนยาเหนียวข้นดีแล้วเก็บใส่ภาชนะสะอาด กินครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ เป็นยาบำรุงโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น